• เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการสร้างบ้าน
การสร้างบ้าน ติดคลอง ติดแม่น้ำ ติดทะเล
การสร้างบ้านติด แม่น้ำ ลำคลอง หรือทะเล ตามกฎหมาย การสร้างบ้าน นั้นมีกฎข้อห้ามการสร้างบ้านไว้
เพื่อปกป้อง หรือป้องกัน ความสูญเสีย และเสียหายต่อธรรมชาติ ซึ่งกฎหมายได้ระบุห้ามก่อสร้างไว้
ดังนี้
1.การสร้างบ้าน ติดแหล่งน้ำสาธารณะที่แคบกว่า 10 เมตร ต้องสร้างบ้านห่างจากเขตอย่างน้อย
3 เมตร
2.การสร้างบ้าน ติดแหล่งน้ำสาธารณะที่กว้างกว่า 10 เมตร ต้องสร้างบ้านห่างจากเขตอย่างน้อย
6 เมตร
3.การสร้างบ้าน ติดแหล่งน้ำสาธารณะที่ใหญ่ๆ เช่น ทะเลสาบ หรือทะเล นั้น ต้องสร้างบ้านห่างจากเขตอย่างน้อย
12 เมตร
แต่ในบางกรณียังสามารถก่อสร้างติดกับแหล่งน้ำได้ แต่ก็ต้องขออนุญาตก่อสร้างก่อน
เช่น สะพาน เขื่อน รั้ว ท่าเรือ ป้าย อู่เรือ คานเรือ เป็นต้น
• การดู ฮวงจุ้ย ด้วยตนเองอย่างง่ายๆ
การสร้างบ้านในปัจจุบัน ผู้ปลูกบ้านบางรายให้ความสำคัญกับการดู ฮวงจุ้ย หรือทิศทางของตัวบ้านก่อนสร้างบ้าน
ไม่ว่าจะเป็นห้องต่างๆ หรือการหันหน้าของตัวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะจ้างซินแสที่เชี่ยวชาญหรือมีชื่อเสียงในการดู
ฮวงจุ้ย แต่ซึ่งก็มีบางรายก็สามารถดู ฮวงจุ้ย ได้เองแบบคร่าวๆ หรือดูแบบชาวบ้านๆ
พอสรุปได้ง่ายๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.ที่ดินไม่ควรอยู่ในทิศที่มีถนนวิ่งเข้าหา
2.ที่ดินไม่ควรเป็นรูปถุง หรือ หน้ากว้างหลังแคบ
3.หน้าที่ดินอิงน้ำและหลังพิงเขา ยกเว้นแต่ถ้าเป็นสายน้ำพุ่งเข้าหาที่ดินจะไม่ดี
4.ประตูหน้าต้องไม่ตรงกับประตูหลังโดยไม่มีอะไรมาขวางกั้นจะไม่ดี
5.ห้ามจอดรถหรือเลี้ยงสัตว์เลี้ยงใต้ห้องนอนใหญ่
6.ห้ามมีแนวคานขวางบนเตียงนอน
ดังนั้นแล้วหากต้องพิจารณาอย่างละเอียดมากกว่านี้คงต้องจ้างซินแสมาดูว่าเข้ากับลักษณะเจ้าของ
วันเดือนปีเกิดเจ้าของ หรือดวงของเจ้าของเป็นต้น
• ฤกษ์เสาเอกเขานับกันตรงไหน
ฤกษ์ลงเสาเอกสมัยโบราณคือเวลาที่เรานำเสาหลักของบ้านหย่อนลงสู่หลุมที่ขุดเตรียมเอาไว้
จัดเสาให้ตั้งตรงและใช้ไม้ค้ำยันค้ำไว้ เอาดินกลบหลุมใช้เวลาทั้งสิ้นไม่เกินชั่วยาม
แต่ในปัจจุบันการสร้างบ้านได้เปลี่ยนแปลงไปมากมาย ซึ่งปัจจุบันต้องมีการตอกเสาเข็ม
ต้องมีการเทฐานราก ทำตอม่อ แล้วจึงจะขึ้นเสาโผล่พ้นดินได้ ขั้นตอนการสร้างบ้านมากขึ้น
จึงไม่รู้ว่าต้องนับขั้นตอนไหนที่เรียกว่าขึ้นเสาเอก เพื่อจะเอาเวลาที่ดีที่สุดที่จะหามาได้เพื่อทำพิธี
ดังนั้น ฤกษ์ ลงเสาเอก สรุปได้ดังนี้
1.ยึดถือเวลาตอกหรือเจาะ เสาเข็มต้นแรก หรือเวลาที่ตอกหรือเจาะ เสาเข็มที่กำหนดขึ้นเองว่าเป็นเสาเอก
เรียกว่า ฤกษ์เข็มเอก
2.ยึดเวลาที่คอนกรีตฐานราก โดยจะทำฐานรากพร้อมตอม่อ ต้นที่ถูกกำหนดขึ้นเอง
ซึ่งจะเรียกว่า ตอม่อเอก หรือ เสาสั้นเอก
แหล่งที่มา: หนังสือร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง ของ อาจารย์ ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์
• การสร้างบ้าน การขอเลขประจำบ้าน
และการรื้อถอนบ้าน
บ้านเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของคนเรา การมีบ้านเป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มชีวิตใหม่ที่จะเจริญก้าวหน้าต่อไป
ดังนั้นการปลูกสร้างบ้าน ที่ได้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ จึงเป็นการส่งเสริมความมั่นคงของชีวิตในฐานะเป็นพลเมืองดี
และเสริมสร้างความดีงามแก่จิตใจ
• ขั้นตอนในการปลูกสร้างบ้าน
ในเขตที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารหรือกฎหมายผังเมืองบ้าน หรืออาคารที่จะปลูกสร้าง
ต้องได้รับอนุญาต แบบแปลน เสียก่อน และจะสร้างเกินกว่าแบบที่ได้รับอนุญาตไม่ได้
โดยยื่นคำร้องได้ที้สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมืองพัทยา และสำนักงานเขต หรือกรุงเทพมหานคร
อำเภอ และสำนักงานสุขาภิบาล แล้วแต่กรณี บริเวณนอกเขตควบคุม บ้านหรืออาคารที่จะปลูกสร้างไม่ต้องขออนุญาตสามารถปลูกสร้างได้เลย
• หลักฐานที่จะต้องนำไปแจ้งเพื่อขอเลขประจำบ้าน
- หนังสือหรือเอกสารการได้รับอนุญาตการปลูกสร้างบ้าน หรืออาคาร (เฉพาะในเขตพื้นที่ที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมอาคารหรือกฎหมายผังเมือง)
- สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวของผู้แจ้งกรณีผู้ที่ได้รับมอบหมายให้นำบัตรประจำตัวของผู้รับมอบ
และหนังสือมอบหมาย (ถ้ามี) ไปแสดงด้วย
- หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ปลูกสร้างบ้าน สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า
(ถ้ามี)
- ผู้แจ้งให้ยื่นคำร้องตามแบบที่กำหนดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งพร้อมหลักฐานที่นำไปแสดง
- เมื่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งได้รับแจ้งการสร้างบ้าน ใหม่แล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่นำไปแสดง
• วิธีการรับแจ้ง
เมื่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งได้รับแจ้งการสร้างบ้าน ใหม่แล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่นำไปแสดง
เมื่อเห็นว่าถูกต้อง ก็ให้กำหนดเลขประจำบ้านให้พร้อมกับจัดทำทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านต่อไป
โดยจะมอบสำเนาทะเบียนบ้านให้แก่ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินการในเรื่องการย้ายบุคคลเข้ามาอยุ่ในทะเบียนบ้านในโอกาสต่อไป
หรือจะดำเนินการในคราวเดียวกันก็ได้ ส่วนเลขประจำบ้านที่นายทะเบียนกำหนดให้นั้น
ให้เจ้าบ้านไปจัดทำเลขประจำบ้านติดไว้ที่หน้าบ้านหรือที่รั้วบ้านซึ่งเห็นได้ชัดแจ้ง
• การรื้อถอนบ้านซึ่งมีเลขประจำบ้าน
เมื่อได้มีการรื้อถอนบ้านหรืออาคารโดยไม่ประสงค์จะปลูกสร้างใหม่ในที่ดินนั้นอีก
หรือรื้อเพื่อไปปลูกสร้างที่อื่น ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน
15 วัน นับแต่วันรื้อถอนเสร็จ พร้อมกับนำสำเนาทะเบียนบ้านคืนแก่นายทะเบียนด้วย
หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
หมายเหตุ : การแจ้งเกี่ยวกับบ้าน ไม่เสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด
แหล่งที่มา กระทรวงมหาดไทย
|